พรมมิ (Bacopa monnierir (L.) Wettst.) และแปะก๊วย (Ginkgo biloba L.) ต่างเป็นสมุนไพรที่มีประโยชน์ต่อสมองทั้งคู่ แต่นอกจากความเหมือนในด้านประโยชน์นี้ สมุนไพรทั้งสองตัวมีความแตกต่างกันแทบทั้งสิ้น หลายท่านอาจสงสัยว่าทั้งสองตัวนี้เหมือนและแตกต่างกันในด้านใดบ้าง วันนี้ MillionLab จะพาไปรู้จักกับพรมมิและแปะก๊วย รวมถึงสรรพคุณและข้อควรระวังในการรับประทานค่ะ
ในสมัยก่อน พรมมิเป็นหนึ่งในสมุนไพรที่ใช้ในตำรับยาอายุวรเวท ในขณะที่แปะก๊วยถูกใช้บ่อยครั้งในตำรับยาแพทย์แผนจีน โดยทุกส่วนของต้นพรมมิสามารถนำมาใช้สกัดเป็นตัวยาได้ ในขณะที่แปะก๊วยมีเพียงส่วนใบแห้งที่นำมาใช้สกัดได้เท่านั้น
สารสำคัญในพรมมิและแปะก๊วย
สารสำคัญในพรมมิ คือ สารในกลุ่มซาโปนิน (Saponins) ได้แก่ บาโคไซด์ เอ (Bacosides A) และ บาโคไซด์ บี (Bacosides B)
สารสำคัญในแปะก๊วย คือ สารในกลุ่ม กิงโก ฟลาโวน ไกลโคไซด์ (Gingko flavone glycosides) / เทอพีนแลคโตน (Terpene Lactones) ได้แก่ ไบโลบาไลด์ (Bilobalide) กิงโกไลด์ (Ginkgolides) โดยกำหนดให้ปริมาณกรดกิงโกลิก (Ginkgolic acid) น้อยกว่า 5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (ppm)
กลไกการทำงานและประโยชน์ เหมือนและต่างกันอย่างไร?
พรมมิ
- พรมมิเข้าไปมีผลต่อ เบต้า-แอมีลอยด์ (β-amyloid) ซึ่งเป็นโปรตีนที่พบได้ในสมองของผู้ป่วยความจำเสื่อม เช่นโรคอัลไซเมอร์ พบว่าการทานพรมมิอย่างต่อเนื่อง ช่วยลดปริมาณ เบต้า-แอมีลอยด์ในสมองได้ ซึ่งเบต้า-แอมิลอยด์เป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่เป็นพิษต่อสมอง มีลักษณะหนาแน่นกว่าปกติ ทำให้เกิดเซลล์สมองตาย สูญเสียการสื่อสารระหว่างจุดประสานประสาท (Synapse) และสร้างกลุ่มใยประสาทที่พันกัน (neurofibrillary tangles, NFTS) และแอมีลอยด์ที่พอกตามเนื้อสมอง (Senile plaques, SPS) ซึ่งส่งผลต่อความจำได้
- พรมมิยังเข้าไปยับยั้งการทำงานของเอ็มไซม์อะเซติลโคลีนเอสเทอเรส (Acetylcholinesterase enzyme) ส่งผลให้กระบวนการเรียนรู้และจดจำดีขึ้นและปฏิกิริยาออกซิเดชันของไขมัน (Lipid peroxidation)
- เพิ่มการไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงสมองส่วนซีรีบรัมมากขึ้น ซึ่งเป็นสมองส่วนของความจำ
- กระตุ้นการทำงานของสาร BDNF (Brain-derived neurotrophic factor) ที่มีผลต่อกระบวนการสร้างเซลล์ประสาทใหม่
- ยับยั้งการปล่อย Proinflammatory cytokines ชนิด TNF-α และ IL-6
แปะก๊วย
- มีกลไกการทำงานคือ เข้าไปยับยั้งการทำงานของ Platelet-activating factor ที่ทำให้เกิดการอักเสบในร่างกาย มีคุณสมบัติทำให้เกล็ดเลือด (platelet) แข็งตัว และเร่งการปล่อยเกร็ดเลือดเข้าสู่กระแสเลือด (platelet release) ทำให้ผู้ที่ทานแปะก๊วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดอุดตันและเพิ่มการไหลเวียนเลือดให้ดีขึ้น
- ช่วยเพิ่มความสามารถในการทำงานของไนตริค ออกไซด์ (Nitric Oxide, NO) ในหลอดเลือด โดยไนตริค ออกไซด์เป็นสารชนิดหนึ่งในหลอดเลือดที่ทำให้ร่างกายสามารถรับออกซิเจนได้มากขึ้น ส่งผลให้มีการหมุนเวียนของเลือดเพิ่มขึ้นในสมองส่วนซีรีบรัมและระบบประสาทส่วนปลาย
- กำจัดอนุมูลอิสระ จึงช่วยปกป้องระบบประสาท และชะลอความเสื่อมโทรมก่อนวัย
- ยับยั้งการทำงานของเบต้า-แอมิลอยด์ ในสมอง
ควรรับประทานในปริมาณเท่าไหร่ต่อวัน เพื่อให้เกิดประโยชน์และไม่เกิดโทษ? มีผลข้างเคียงไหม?
จากงานวิจัยพบว่าหากต้องรับประทานสารสกัดพรมมิหรือแปะก๊วยเดี่ยว ๆ เพื่อบำรุงสมองนั้น ควรรับประทานสารสกัดพรมมิในปริมาณ 200-650 มก./วัน ในส่วนของสารสกัดแปะก๊วยนั้น ควรรับประทานในปริมาณ 80-360 มก./วัน แต่การรับประทานร่วมกับสารสกัดอื่น ๆ ที่เสริมฤทธิ์อาจสามารถลดปริมาณที่ต้องรับประทานลงได้ การรับประทานในขนาดสูงกว่าที่แนะนำจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดเลือดออกง่ายกว่าปกติ เสี่ยงต่อการเกิดเส้นเลือดในสมองแตก และพบพิษต่อตับมากขึ้น
ข้อควรระวังในการรับประทานแปะก๊วย
หลายคนอาจจะสงสัยว่า Ginkgo acid ที่เขียนไว้ในช่วงแรกของบทความคืออะไร Ginkgo acid เป็นสารพิษที่สามารถพบได้ในสารสกัดจากแปะก๊วย โดยเกิดขึ้นได้เป็นปกติในกระบวนการสกัดที่อาจปะปนมากับส่วนประกอบอื่นๆ อย่างไรก็ตามหากมีในปริมาณที่กำหนด จะไม่เกิดอันตรายต่อร่างกาย สารสกัดจากแปะก๊วยที่ดีจึงต้องมีการควบคุมคุณภาพ ให้มี Ginkgo acid ไม่เกินกำหนด
ทาง MillionLab ได้คัดเลือกสารสกัดพรมมิและสารสกัดแปะก๊วยจากแหล่งผลิตที่มีความน่าเชื่อถือและปลอดภัย ได้มาตรฐาน จึงสามารถมั่นใจได้ว่าหากผลิตผลิตภัณฑ์เสริมอาหารกับ MillionLab คุณจะได้รับผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐาน และมีความปลอดภัย ไม่สะสมในตับ ไต หรือเป็นพิษต่อร่างกาย หากท่านใดสนใจที่จะผลิตผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหรือต้องการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ สามารถทักมาได้ที่ Line: @MillionLab ปรึกษาฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ
บริษัท พีเอชอาร์ มิลเลี่ยน แลบ จำกัด ได้รับมาตรฐาน GMP CODEX จากบริษัท URS ประเทศอังกฤษ ได้รับรางวัลธุรกิจยอดเยี่ยมจาก ASEAN BUSINESS AWARD ประเทศสิงคโปร์ และคิดค้นสูตรโดยทีมเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์สายตรงกว่า 10 ปี
References
Systematic Review and Meta-Analysis of Ginkgo biloba in Neuropsychiatric Disorders: From Ancient Tradition to Modern-Day Medicine. Evid Based Complement Alternat Med. 2013;2013:915691.
Dubey, T., & Chinnathambi, S. (2019). Brahmi (Bacopa monnieri): An ayurvedic herb against the Alzheimer’s disease. Archives of Biochemistry and Biophysics, 108153.