หลายคนอาจเคยได้ยินโฆษณาเกี่ยวกับการทานคอลลาเจนเพื่อบำรุงผิวให้ขาวกระจ่างใส แต่ในปัจจุบันยังไม่มีงานวิจัยชิ้นใดที่กล่าวถึงประโยชน์ของคอลลาเจนในแง่ของผิวขาว หลายคนอาจเริ่มสงสัยว่า ถ้าอย่างนั้นแล้วเราทานคอลลาเจนไปเพื่ออะไร? คอลลาเจนมีประโยชน์อย่างไรในการบำรุงผิวและบำรุงร่างกายกันแน่? บทความโดย Million Lab โรงงานรับผลิตอาหารเสริมคอลลาเจน

วันนี้ MillionLab ได้นำข้อมูลเกี่ยวกับคอลลาเจนมาให้ผู้อ่านทุกคนได้รู้จักและเข้าใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารยอดนิยม ทั้งยังเป็นส่วนประกอบที่พบได้มาในร่างกายตัวนี้ ว่ามีความสำคัญต่อร่างกายของเราอย่างไร อายุเท่าไหร่ที่ควรเริ่มทานคอลลาเจน และควรทานตอนไหนให้ได้ประโยชน์สูงสุด

คอลลาเจน (Collagen) มาจากคำว่า “kólla” ในภาษากรีก มีความหมายว่า “กาว” และมาจากภาษาฝรั่งเศส -gene มีความหมายว่า “สิ่งที่เป็นผู้สร้าง” คอลลาเจนเปรียบเสมือนกาวที่ทำหน้าที่ในการยึดส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเข้าด้วยกัน คอลลาเจนมีจำนวนมากถึง 30% ของโปรตีนทั้งหมดในร่างกายมนุษย์ โดยคอลลาเจนมีลักษณะเป็นเส้นใยไฟเบอร์ที่ไม่ละลายน้ำ ประกอบไปด้วยกรดอะมิโนที่พบได้ในร่างกายมนุษย์ กระบวนการสร้างคอลลาเจนของร่างกายเป็นดังรูป

คอลลาเจนพบได้ที่ไหนในร่างกายบ้าง?

เราสามารถพบคอลลาเจนได้ในสารเคลือบเซลล์และในเนื้อเยื่อเกี่ยวพันในร่างกาย นอกจากนี้ยังพบได้ในกระดูก ชั้นผิวหนังแท้ กล้ามเนื้อ เอ็นกล้ามเนื้อ รวมไปถึงหลอดเลือด กระจกตา เล็บ และฟัน คอลลาเจนมีหน้าที่ช่วยให้โครงสร้างของร่ายกายมีความแข็งแรงและมีความยืดหยุ่น ด้วยเหตุนี้เอง ทำให้คอลลาเจนมีความสำคัญต่อร่างกายเป็นอย่างมาก

ชนิดของคอลลาเจน

คอลลาเจนมีมากกว่า 29 ชนิด โดยคอลลาเจนแต่ละชนิด มีความแตกต่างกันทั้งในลำดับของกรดอะมิโน โครงสร้าง และหน้าที่ คอลลาเจนชนิดที่สามารถพบได้ 80-90% ในร่างกายมีทั้งหมด 3 ชนิด ดังนี้

    1. ชนิดที่ 1 (Type I) คอลลาเจนชนิดนี้มีปริมาณมากถึง 90% ของร่างกาย มีลักษณะคล้ายไฟเบอร์ที่มีความหนาแน่นสูงมาก โดยเป็นโครงสร้างหลักของผิวหนัง กระดูก ทั้งกระดูกแข็งและกระดูกอ่อน เอ็นกล้ามเนื้อ ทั้งในเอ็นเท็นดอนและลิกาเมนท์ เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เล็บ และฟัน ซึ่งมีหน้าที่ในการเชื่อมเนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเข้าด้วยกัน
    2. ชนิดที่ 2 (Type II) คอลลาเจนชนิดนี้มีความหนาแน่นของไฟเบอร์น้อยกว่าชนิดแรก สามารถพบได้ใน Elastic Cartilage ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันในข้อต่อ หรือกระดูกอ่อนผิวข้อ
    3. ชนิดที่ 3 (Type III) คอลลาเจนชนิดนี้ช่วยค้ำจุนโครงสร้างของกล้ามเนื้อ อวัยวะภายใน และหลอดเลือด ให้สามารถคงสภาพได้ตามธรรมชาติ

นอกจากนี้ ยังมีคอลลาเจนไทป์ 4 (Type IV) เป็นตัวเชื่อมระหว่างคอลลาเจนด้วยกันเอง และยังเป็นตัวเชื่อมระหว่างคอลลาเจนกับเนื้อเยื่อหรืออื่น ๆ คอลลาเจนชนิดนี้พบได้ในเนื้อเยื่อบุผิว (Basar Lamina) ซึ่งอยู่ล่างสุดของชั้นผิวแท้ โดยคอลลาเจนไทป์นี้จะพบได้น้อยลงในผิวหนังส่วนที่มีรอยเหี่ยวย่น

ประโยชน์ที่ได้จากการทานคอลลาเจน

    1. ช่วยบำรุงผิว เพิ่มความชุ่มชื้นใต้ผิวหนัง โดยการกระตุ้นการผลิตกรดไฮยาลูรอน (Hyaluronic Acid) ในชั้นผิวหนังชั้นนอก หรือที่เรียกว่าชั้นผิวหนังกำพร้า (ชั้นที่มีขี้ไคลนั่นเอง) ทั้งยังช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของผิว นอกจากนี้ยังช่วยลดความหยาบกร้านของผิวและลดริ้วรอยได้
    2. ช่วยบำรุงและเพิ่มความแข็งแรงของกระดูก เล็บ และฟัน โดยคอลลาเจนสามารถลดปัญหาเล็บเปราะ และลดการสูญเสียมวลกระดูก
    3. ช่วยบรรเทาอาการของโรคข้อเข่าเสื่อม (Osteoarthritis)
    4. ช่วยลดความเสื่อมโทรมของผิวจากรังสี UV โดยในการทดลองของ Tanaka M., (2009) พบว่า การทานคอลลาเจนเปปไทด์ ในปริมาณ 200 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม มีส่วนช่วยในการลดความเสียหายของผิวจากรังสี UVB ได้ ยกตัวอย่างเช่น หากมีน้ำหนักตัว 50 กิโลกรัม ผู้ที่มีกิจกรรมกลางแจ้งที่ต้องเจอรังสี UV ควรรับประทานคอลลาเจนเปปไทด์วันละ 10,000 มิลลิกรัม

เนื่องจากคอลลาเจนมีประโยชน์อย่างมากในการสร้างชั้นผิวหนังใหม่ ทั้งยังมีส่วนช่วยในการเสริมสร้างความแข็งแรงของผิว ทำให้การรับประทานคอลลาเจนเปปไทด์ทุกวัน จากการรวบรวมงานวิจัยพบว่าการรับประทานต่อเนื่องในประมาณ 3,500-10,000 มิลลิกรัมต่อวัน จะสามารถช่วยให้ร่างกายได้รับประโยชน์ ส่งเสริมการสร้างคอลลาเจนใหม่ เพิ่มความชุ่มชื่นและความยืดหยุ่นให้แก่ผิวหนังได้

คอลลาเจนกับอายุ มีความสัมพันธ์กันอย่างไร? อายุเท่าไหร่ควรเริ่มทานคอลลาเจน?

เมื่ออายุมากขึ้น ตั้งแต่อายุ 25-30 เป็นต้นไปความสามารถในการสร้างคอลลาเจนของร่างกายจะลดลง โดยมีปัจจัยกระตุ้นการเสื่อมสลายของคอลลาเจนใต้ผิวหนังที่สำคัญคือ รังสี UV จากแสงอาทิตย์ การสูบบุหรี่ และเครื่องดื่มแอลกอฮลล์ สามารถสังเกตคอลลาเจนที่ลดลงนี้ ได้จากริ้วรอยที่เพิ่มขึ้น รอยแผลหรือรอยดำรอยแดงจากสิวหายช้าลง ผิวหนังที่เริ่มเหี่ยวย่น ไม่ยืดหยุ่นเหมือนเคย รวมไปถึงอาการปวดข้อ โดยเฉพาะบริเวณข้อเข่า

ดังนั้น คำตอบสำหรับคำถามที่ว่า ควรเริ่มทานคอลลาเจนเมื่ออายุเท่าไหร่จึงไม่มีคำตอบตายตัวในแต่ละคน เพราะหากอายุยังน้อยแต่ต้องเจอกับปัจจัยในการกระตุ้นการทำลายคอลลาเจน หรือผู้ที่มีอายุ 25-30 เป็นต้นไป ต่างก็เริ่มมีคอลลาเจนที่ลดน้อยลง อย่างไรก็ตาม หากผู้อ่านมีปัญหาผิวแห้ง ผิวขาดน้ำหรือความชุ่มชื่น รอยดำรอยแดงจากสิวหายช้า หรือผิวไม่มีความยืดหยุ่นเหมือนอย่างเคย การเริ่มทานคอลลาเจนตั้งแต่อายุยังน้อย เปรียบเหมือนการชะลอความเสื่อมของผิว (Skin Aging) และชะลอการเกิดริ้วรอย (Anti-aging) ได้ในระยะยาว

หากทราบเกี่ยวกับคอลลาเจนแล้วต้องการสร้างแบรนด์ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากคอลลาเจน สามารถติดต่อสอบถามเข้ามาทาง Line: @MillionLab เพื่อพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญได้เลยค่ะ

บริษัท พีเอชอาร์ มิลเลี่ยน แลบ จำกัด  ได้รับมาตรฐาน GMP CODEX จากบริษัท URS ประเทศอังกฤษ ได้รับรางวัลธุรกิจยอดเยี่ยมจาก ASEAN BUSINESS AWARD ประเทศสิงคโปร์ และคิดค้นสูตรโดยทีมเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์สายตรงกว่า 10 ปี

.


References

Liu, D., Nikoo, M., Boran, G., Zhou, P., & Regenstein, J. M. (2015). Collagen and Gelatin. Annual Review of Food Science and Technology, 6(1), 527–557. https://doi.org/10.1146/annurev-food-031414-111800

TANAKA, M., KOYAMA, Y., & NOMURA, Y. (2009). Effects of Collagen Peptide Ingestion on UV-B-Induced Skin Damage. Bioscience, Biotechnology, and Biochemistry, 73(4), 930–932. doi:10.1271/bbb.80649

Bolke, L., Schlippe, G., Gerß, J., & Voss, W. (2019). A Collagen Supplement Improves Skin Hydration, Elasticity, Roughness, and Density: Results of a Randomized, Placebo-Controlled, Blind Study. Nutrients, 11(10), 2494. doi:10.3390/nu11102494

Kim, D.-U., Chung, H.-C., Choi, J., Sakai, Y., & Lee, B.-Y. (2018). Oral Intake of Low-Molecular-Weight Collagen Peptide Improves Hydration, Elasticity, and Wrinkling in Human Skin: A Randomized, Double-Blind, Placebo-Controlled Study. Nutrients, 10(7), 826. doi:10.3390/nu10070826

Hexsel, D., Zague, V., Schunck, M., Siega, C., Camozzato, F. O., & Oesser, S. (2017). Oral supplementation with specific bioactive collagen peptides improves nail growth and reduces symptoms of brittle nails. Journal of Cosmetic Dermatology, 16(4), 520–526. doi:10.1111/jocd.12393