หลายๆคนคงจะคุ้นเคยกับสารที่ชื่อ “ไลโคปีน (lycopene)” ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมในด้านการช่วยบำรุงผิวพรรณและลดริ้วรอยต่างๆ และเมื่อพูดถึงไลโคปีน สิ่งที่ทุกคนจะนึกถึงตามมาก็คือภาพของผลมะเขือเทศ ไลโคปีนเป็นสารสีแดงที่พบมากในมะเขือเทศ ซึ่งมีสรรพคุณที่ประโยชน์มากมายหลายด้าน วันนี้ Million Lab จึงอยากพาทุกคนมารู้จักสารชนิดมากขึ้นค่ะ
รู้จักกับ Lycopene
ไลโคปีน (lycopene) เป็นสารไฟโตนิวเทรียนในกลุ่มแคโรทีนอยด์ (carotenoid) เป็นสารสีแดงที่พืชสังเคราะห์ขึ้นเอง เป็นสารที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกายของเราหลายด้านทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นช่วยบำรุงผิวพรรณ มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอความเสื่อมของร่างกาย เป็นต้น แต่น่าเสียดายที่ไลโคปีนกลับเป็นสารที่ร่างกายไม่สามารถผลิตขึ้นเองได้ จึงต้องอาศัยการรับประทานผักและผลไม้ที่มีไลโคปีนแทนค่ะ
ประโยชน์ของไลโคปีน (lycopene)
- สารต้านอนุมูลอิสระ
ไลโคปีนมีประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระสูงกว่า Beta-Carotene 2 เท่า และสูงกว่า vitamin E10 ถึง 10 เท่าโดยปกติเมื่อร่างกายเจอกับมลภาวะต่างๆ รวมถึงกระบวนการเมตาบอลิซึมของร่างกายเองก็จะทำให้เกิดอนุมูลอิสระ ถ้าหากร่างกายไม่สามารถกำจัดทิ้งได้ทั้งหมดจะทำให้เกิดผลเสียต่อดีเอ็นเอ โปรตีน ส่งให้การทำงานของร่างกายเสียสมดุลและนำไปสู่ความเสื่อมของเซลล์ในร่างกายและเป็นต้นเหตุของการเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคหัวใจ โรคมะเร็ง เป็นต้น สำหรับไลโคปีน (lycopene) เป็นสารที่มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งทำให้ที่ในการช่วยกำจัดอนุมูลอิสระที่เป็นสาเหตุในการเกิดโรคต่างๆนั่นเองค่ะ
- ช่วยบำรุงผิวพรรณ
ไลโคปีนเป็นสารไฟโตนิวเทรียนกลุ่ม carotenoid ซึ่งมีสมบัติในการละลายได้ในไขมัน ดังนั้นเมื่อทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหรืออาหารที่มีไลโคปีน สารไลโคปีนส่วนใหญ่ไปถูกนำไปสะสมที่บริเวณใต้ชั้นผิวหนัง และด้วยคุณสมบัติในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระของไลโคปีนจึงเข้าไปทำหน้าที่ในการกำจัดอนุมูลอิสระที่เกิดจากแสงแดด ไลโคปีนจึงทำหน้าที่คล้ายกับครีมกันแสงที่ช่วยปกป้องผิวจากแสงแดด
- ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ
เนื่องจากไลโคปีนจะช่วยลดการออกซิไดซ์ของคอเรสเตอรอล ซึ่งเป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดก้อนไขมันเสื่อมสภาพที่จะไปเกาะตามผนังหลอดเลือดและเป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และยังมีผลในการช่วยลดความดันโลหิต
- มีประโยชน์ต่อระบบประสาท
จากงานวิจัยพบว่าไลโคปีนมีส่วนช่วยลดตวามเสียหายของเซลล์ประสาทและการสูญเสียความทรงจำเนื่องจากความชราได้ เนื่องจากไลโคปีนจะช่วยยับยั้งการทำงานของ IBA-1 ซึ่งมีผลในการช่วยกระตุ้นการทำงานของไมโครเกลีย (microglia) ซึ่งเป็นเซลล์ที่อยู่ในระบบประสาทส่วนกลาง ทำหน้าที่ในกำจัดของเสียจากเซลล์แปลกปลอมและป้องกันการบุกรุกของเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย อีกทั้งยังคอยกำจัดเซลล์ประสาทที่ทำงานผิดปกติซึ่งเซลล์เหล่านี้จะนำไปสู่การบาดเจ็บและโรคทางระบบประสาทอื่นๆได้
แหล่งของไลโคปีน (lycopene)
- ปริมาณไลโคปีนในผักและผลไม้ 100 กรัม
แหล่งไลโคปีน (lycopene) | ปริมาณไลโคปีน (lycopene) (mg./100g) |
มะเขือเทศดิบ | 0.72 – 4.2 |
มะเขือเทศสุก | 3.70 |
ซอสมะเขือเทศ | 6.20 |
แตงโม | 2.30 – 7.20 |
ฟักทอง | 0.38 – 0.46 |
แครอท | 0.65 – 0.78 |
มะละกอ | 0.11 – 5.3 |
สำหรับปริมาณที่ควรบริโภคต่อวัน ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขระบุปริมาณไลโคปีนที่แนะนำให้บริโภคคือ ไม่เกิน 15 มิลลิกรัมต่อวัน อีกทั้งยังมีงานวิจัยที่พบว่าการทานไลโคปีน 6.5 มิลลิกรัมต่อวันจะมีประสิทธิภาพในการต้านมะเร็งในผู้ชาย และพบว่าการเสริมไลโคปีน 15 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นเวลา 12 สัปดาห์มีผลในการช่วยให้การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันดีขึ้นถึง 28% สำหรับผู้อ่านที่มีความสนใจที่จะผลิตผลิตภัณฑ์เสริมอาหารไลโคปีนหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้เชี่ยวชาญ สามารถสอบถามได้ทาง Line: @MillionLab นะคะ สามารถปรึกษาได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมค่ะ
บริษัท พีเอชอาร์ มิลเลี่ยน แลบ จำกัด ได้รับมาตรฐาน GMP CODEX จากบริษัท URS ประเทศอังกฤษ ได้รับรางวัลธุรกิจยอดเยี่ยมจาก ASEAN BUSINESS AWARD ประเทศสิงคโปร์ และคิดค้นสูตรโดยทีมเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์สายตรงกว่า 10 ปี
References
- Story, E. N., Kopec, R. E., Schwartz, S. J., & Harris, G. K. (2010). An Update on the Health Effects of Tomato Lycopene. Annual Review of Food Science and Technology, 1(1), 189–210. doi:10.1146/annurev.food.102308.124120
- Imran, M., Ghorat, F., Ul-Haq, I., Ur-Rehman, H., Aslam, F., Heydari, M., … Rebezov, M. (2020). Lycopene as a Natural Antioxidant Used to Prevent Human Health Disorders. Antioxidants, 9(8), 706. doi:10.3390/antiox9080706
- Petyaev, I. M., Pristensky, D. V., Morgunova, E. Y., Zigangirova, N. A., Tsibezov, V. V., Chalyk, N. E., … Bashmakov, Y. K. (2019). Lycopene presence in facial skin corneocytes and sebum and its association with circulating lycopene isomer profile: Effects of age and dietary supplementation. Food Science & Nutrition, 7(4), 1157–1165. doi:10.1002/fsn3.799
Leave A Comment