ทุกคนน่าจะคุ้นเคยกับคำว่า “สารต้านอนุมูอิสระ หรือ สารแอนตี้ออกซิแดนท์ (anti-oxidant)” กันเป็นอย่างดี แต่หลายคนก็ยังสงสัยเกี่ยวกับสารต้านอนุมูลอิสระ วันนี้ Million Lab จะพาทุกคนมาไขความลับของสารต้านอนุมูลอิสระ
อนุมูลอิสระคืออะไร?
อนุมูลอิสระหรือ free radicals เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในร่างกายของเราตลอดเวลาจากกระบวนการหายใจและกระบวนการเมตาบอลิซึม (metabolism) หรืออาจจะมีปัจจัยอื่นๆจากภายนอกร่างกายเข้ามากระตุ้นให้เกิดอนุมูลอิสระมากขึ้น ซึ่งอนุมูลอิสระเหล่านี้เป็นโมเลกุลที่ไม่เสถียรและคอยแย่งจับอิเล็กตรอนจากโมเลกุลของเซลล์ดีในร่างกายส่งผลในการทำลายเซลล์ดีเหล่านั้น อนุมูลอิสระจึงเป็นตัวการในการทำลายเซลล์ต่างๆในร่างกาย เร่งให้เซลล์เข้าสู่กระบวนการแก่และค่อยๆเสื่อมสภาพลง สะท้อนออกมาในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นริ้วรอยแห่งวัยและโรคต่างๆที่เกิดจากความเสื่อมของอวัยวะ อย่างเช่น โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคจอประสาทตาเสื่อม โรคอัลไซเมอร์ เป็นต้น หรือเกิดการก่อตัวของเนื้อร้ายและลุกลามกลายเป็นโรคมะเร็งในที่สุด
อนุมูลอิสระเกิดอะไรได้บ้าง?
- เกิดจากกระบวนการต่างๆภายในร่างกาย เช่น การหายใจ กระบวนการเผาผลาญ
- เกิดจากปัจจัยกระตุ้นภายนอกร่างกาย เช่น แสงแดด มลพิษ มลภาวะต่างๆ การดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ ความเครียดและการทานอาหารที่ไม่ดี
สารต้านอนุมูลอิสระจำเป็นต่อร่างกายแค่ไหน?
อย่างที่ทราบกันไปแล้วว่าอนุมูลอิสระมีสาเหตุมาจากทั้งปัจจัยภายในและภายนอกของร่างกาย การเกิดอนุมูลอิสระจึงถึงว่าเป็นเรื่องปกติและเป็นไปไม่ได้เลยที่จะป้องกันไม่ให้เกิดอนุมูลอิสระขึ้นเลย แต่เหล่าอนุมูลอิสระเหล่านี้กลับเป็นตัวการทำให้เซลล์เกิดความเสียหายและนำไปสู่โรคร้ายได้ โดยปกติแล้วร่างกายของเราจะมีกระบวนการในการทำลายอนุมูลอิสระอยู่แล้ว เพื่อรักษาสมดุลระหว่างการเกิดและการต้านอนุมูลอิสระเพื่อให้อวัยวะต่างๆทำงานได้อย่างปกติ แต่เมื่อไลฟ์สไตล์ของผู้คนในปัจจุบันที่ต้องเจอทั้งมลพิษต่างๆ ควันรถ การดื่มแอลกอฮอล์ การทานอาหารปิ้งย่างและความเครียด ปัจจัยเหล่านี้ล้วนกระตุ้นให้เกิดอนุมูลอิสระที่มากเกินไปจนร่างกายกำจัดไม่ทัน การปรับพฤติกรรมและการเลือกทานอาหารที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยให้ร่างกายรักษาสมดุลระหว่างการเกิดและการต้านอนุมูลอิสระได้ดียิ่งขึ้น
5 ประโยชน์ของสารต้านอนุมูลอิสระ
- ชะลอกระบวนการแก่ชราและความเสื่อมของเซลล์ในร่างกาย
- เสริมภูมิต้านทานให้แก่ร่างกาย
- ลดเลือนริ้วรอย บำรุงพรรณให้แลดูอ่อนกว่าวัย
- ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรัง อย่างเช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคอัลไซเมอร์ โรคมะเร็ง เป็นต้น
- เสริมเกราะป้องกันมลพิษและมลภาวะจากสิ่งแวดล้อม
แนะนำแหล่งของสารต้านอนุมูลอิสระ
- Astaxanthin
แอสตาแซนทีนได้ชื่อว่าเป็น “king of antioxidant” เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูงมาก จากงานวิจัยระบุว่าแอสตาแซนทีนมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระมากกว่าวิตามินอีถึง 500 เท่า และมากกว่าวิตามินซีถึง 6,000 เท่าเลยทีเดียว ช่วยปกป้องเซลล์จากการทำลายของ free radicals ส่งผลในการชะลอความเสื่อมของเซลล์ นอกจากนี้แอสตาแซนทีนยังมีประโยชน์ต่อร่างกายอีกหลายอย่างด้วยกัน เช่น ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและข้อต่อต่างๆ ต้านการอักเสบและช่วยบำรุงจอประสาทตา เป็นต้น นอกจากนี้แอสตาแซนทีนยังนิยมทานในรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและหวังผลในด้านชะลอวัยและดูแลผิวให้อ่อนกว่าวัย จากงานวิจัยพบว่าการทานแอสตาแซนทีนวันละ 4 มิลลิกรัม ต่อเนื่องเป็นเวลา 6 สัปดาห์ ส่งผลช่วยลดเลือนริ้วรอยและยังเพิ่มความชุ่มชื้นในแก่ผิวได้อีกด้วย แอสตาแซนทีนพบมากในอาหารจำพวกสาหร่ายสีแดง (Haematococcus pluvialis) ปลาแซลมอน ปูและกุ้งตัวเล็ก เป็นต้น
- Vitamin C
วิตามินซีเป็นวิตามินที่ได้รับความนิยมอย่างมาก มีประโยชน์ต่อร่างกายเหมาะกับทุกเพศ ทุกวัย โดยวิตามินซีมีหน้าที่สำคัญในการช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันและอีกหนึ่งบทบาทที่โดดเด่นไม่แพ้กันคือมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์และยังช่วยในกระบวนการสร้างคอลลาเจนใต้ชั้นผิวอีกด้วยจึงเรียกได้ว่าทานวิตามินซีได้ประโยชน์ทั้งด้านสุขภาพและยังช่วยบำรุงผิวพรรณได้ในคราวเดียว ในปัจจุบันมีวิตามินซีเสริมหลากหลายรูปแบบด้วยกัน แต่พบว่าวิตามินซีจากสารสกัดธรรมชาติเป็นรูปแบบที่ดีต่อร่างกายมากกว่าวิตามินซีแบบสังเคราะห์ เนื่องจากการทานวิตามินซีจากสารสกัดธรรมชาติมักได้รับสารอาหารอื่นๆที่มีประโยชน์รวมอยู่ด้วย เช่น สารไฟโตนิวเทรียนท์และสารอาหารที่มีประโยชน์เหล่านี้จะช่วยเสริมฤทธิ์ให้การดูดซึมของวิตามินซีดีขึ้น
- Vitamin E
วิตามินอีเป็นวิตามินที่จำเป็นต่อร่างกาย ซึ่งมีหน้าที่สำคัญในการต้านอนุมูลอิสระ โดยวิตามินอีจะช่วยกำจัดอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นในร่างกายซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคเรื้อรังและริ้วรอยก่อนวัย นอกจากนี้วิตามินอียังช่วยป้องกันการแตกตัวของเม็ดเลือดและลดกระบวนการอักเสบอีกด้วย สำหรับการทานวิตามินอีเสริมในรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแนะนำให้รับประทานหลังอาหาร เนื่องจากวิตามินอีเป็นวิตามินที่ละลายในน้ำมันจึง ไขมันจากอาหารจะช่วยให้ร่างกายดูดซึมและนำไปใช้ได้ดียิ่งขึ้น
- Lycopene
ไลโคปีนพบได้ในผักและผลไม้ที่มีสีแดง เช่น มะเขือเทศ มะละกอ โกจิเบอร์รี่ แตงโม เกรปฟลุต เป็นต้น ไลโคปีนเป็นสารอีกหนึ่งชนิดที่มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระสูง นอกจากนี้ยังโดดเด่นในด้านการบำรุงผิวพรรณ โดยพบว่าไลโคปีนส่วนใหญ่ไปถูกนำไปสะสมที่บริเวณใต้ชั้นผิวหนัง จึงช่วยต้านอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นบริเวณผิวได้ดี นอกจากนี้ไลโคปีนที่สะสมบริเวณผิวยังช่วยปรับโทนสีผิวให้ขาวอมชมพู ผิวนวลเนียนและกระจ่างใสอย่างเป็นธรรมชาติอีกด้วย
- Resveratrol
Resveratrol พบมากในเปลือกขององุ่นแดง ซึ่งเป็นสารในกลุ่มโพลีฟีนอล (polyphenol) มีประโยชน์ทั้งด้านสุขภาพและความงาม ด้วยฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระของเรสเวอราทรอลส่งผลช่วยลดความเสื่อมสภาพของเซลล์ในร่างกายและลดความเสี่ยงในการโรคต่างๆ ส่วนในด้านความงาม เรสเวอราทรอลยังมีส่วนในการกระตุ้นกระบวนการสร้างคอลลาเจนชนิดที่ 3 ซึ่งเป็นคอลลาเจนที่พบมากที่บริเวณผิวหนัง การเสริมด้วยเรสเวอราทรอลจึงมีส่วนช่วยทำให้ผิวเนียนนุ่ม อีกทั้งเรสเวอราทรอลยังช่วยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ไทโรซิเนสส่งผลช่วยลดจุดด่างดำบนผิวได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังพบว่าเรสเวอราทรอลมีฤทธิ์ในการต้านการเกิดเนื้องอกจึงสามารถยับยั้งกระบวนการก่อมะเร็งได้ทั้งหมดตั้งแต่ระยะเริ่มต้นจนถึงระยะลุกลาม
สำหรับผู้อ่านที่มีความสนใจที่จะผลิตผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีส่วนประกอบของสารสกัดที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้เชี่ยวชาญ สามารถสอบถามได้ทาง Line: @MillionLab นะคะ สามารถปรึกษาได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมค่ะ
หากคุณสนใจผลิตผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากโรงงาน รับผลิตอาหารเสริม ที่ได้รับมาตรฐาน Codex GHPs และ HACCP จากบริษัท URS ประเทศอังกฤษ ได้รับรางวัลธุรกิจยอดเยี่ยมจาก ASEAN BUSINESS AWARD ประเทศสิงคโปร์ และคิดค้นสูตรโดยทีมเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์สายตรงกว่า 10 ปี
สามารถคลิกที่ เว็บไซต์นี้ ได้เลยค่ะ
References
- Nemzer, B., Yashin, A.Y., Vedenin, A.N., Yashin, Y.I., Yashunsky, D.V., Nifantiev, N.E., & Kalita, D. (2019). Selected Powerful Natural Antioxidants: Structure, Food Sources, Antioxidant Activities, and Important Health Benefits. Journal of Food Research.
- Lobo, V., Patil, A., Phatak, A., & Chandra, N. (2010). Free radicals, antioxidants and functional foods: Impact on human health. Pharmacognosy reviews, 4(8), 118–126. https://doi.org/4103/0973-7847.70902
- Patil, A. D., Kasabe, P. J., & Dandge, P. B. (2022). Pharmaceutical and nutraceutical potential of natural bioactive pigment: astaxanthin. Natural products and bioprospecting, 12(1), https://doi.org/10.1007/s13659-022-00347-y
- Salehi, B., Mishra, A. P., Nigam, M., Sener, B., Kilic, M., Sharifi-Rad, M., Fokou, P. V. T., Martins, N., & Sharifi-Rad, J. (2018). Resveratrol: A Double-Edged Sword in Health Benefits. Biomedicines, 6(3), https://doi.org/10.3390/biomedicines6030091
- Lee, T. H., Seo, J. O., Baek, S. H., & Kim, S. Y. (2014). Inhibitory effects of resveratrol on melanin synthesis in ultraviolet B-induced pigmentation in Guinea pig skin. Biomolecules & therapeutics, 22(1), 35–40. https://doi.org/10.4062/biomolther.2013.081
Leave A Comment