แอสตาแซนทีนเป็นสารในกลุ่ม carotenoid ทำหน้าที่เป็นสารที่ให้สีแดงในธรรมชาติ ส่วนมากจะพบในสิ่งมีชีวิตในทะเล อย่างเช่น เปลือกของกุ้งและปู แซลมอน สาหร่าย และพบแอสตาแซนทีนมากที่สุดในสาหร่ายสีแดง Heamatococcus pluvialis ในปัจจุบันแอสตาแซนทีนถูกนำมาใช้ในผลิตอาหารเสริม เนื่องจากมีความโดดเด่นในการต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูงมากๆ โดยมีงานวิจัยที่ศึกษาคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระของแอสตาแซนทีนเทียบกับสารที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระตัวอื่นๆ พบว่าแอสตาแซนทีนมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าสารสกัดจากเมล็ดองุ่น 17 เท่า สูงกว่าวิตามินอีถึง 500 เท่าและสูงกว่าวิตามินซีถึง 6,000 เท่าเลยทีเดียว อีกทั้งยังถูกขนานนามว่าเป็น “King of Carotenoid” อีกด้วย จึงไม่แปลกเลยที่แอสตาแซนทีนจะได้รับความนิยมอย่างมากในกลุ่มผู้บริโภคที่สนใจในด้าน Anti-aging
5 ประโยชน์แห่งการชะลอวัยของแอสตาแซนทีน
- สารต้านอนุมูลอิสระ
อย่างที่เราทราบกันดีว่าในแต่ละวันร่างกายของเราจะเจอกับสารพิษและมลภาวะต่างๆมากมาย ไม่ว่าจะเป็นฝุ่นควันจากรถยนต์ รังสี UV จากแสงแดด การดื่มเหล้า สูบบุหรี่และความเครียด เป็นต้น รวมทั้งการทำงานของระบบต่างๆในร่างกายของเราเอง ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดอนุมูลอิสระหรือ free radical ขึ้นในร่างกายจำนวนมาก คุณสมบัติที่โดดเด่นในด้านการต้านอนุมูลอิสระของแอสตาแซนทีนจึงช่วยปกป้องเซลล์ต่างๆจากการทำลายของ free radical ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ในร่างกาย รวมทั้งช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรังที่เกิดจากความเสื่อม เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง และโรคเบาหวาน
- ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
โรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นหนึ่งในโรคเรื้อรังยอดฮิตที่มักขึ้นเมื่อเราอายุมากขึ้น ส่วนมากมักมีสาเหตุมากจากไขมันชนิดที่ไม่ดีมาเกาะอยู่บริเวณหลอดเลือดและขว้างการไหลเวียนของเลือดทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดอุดตัน ส่งผลให้ความดันโลหิตสูงจนและเกิดเป็นโรคหัวใจในที่สุด สำหรับแอสตาแซนทีนที่มีส่วนช่วยในการลดระดับ triglyceride และไขมันที่ไม่ดีหรือ LDL และเพิ่มระดับไขมันที่ดีหรือ HDL ได้ แอสตาแซนทีนจึงมึส่วนช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
- บำรุงสายตา
แอสตาแซนทีนทางเลือกใหม่ในด้านการบำรุงสายตาของคนทำงานหนัก ตาเป็นอวัยวะที่ถูกใช้งานอย่างหนักโดยเฉพาะในคนกลุ่มวัยเรียนหรือวัยทำงานที่ต้องจ้องจอคอมพิวเตอร์เกือบทั้งวัน แอสตาแซนทีนจะช่วยให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงบริเวณดวงตาได้ดียิ่งขึ้นและยังช่วยลดอาการตาล้าได้ดี นอกจากคนวัยทำงานแล้ว แอสตาแซนทีนยังช่วยฟื้นฟูจอประสาทตาที่เสื่อมให้ดีขึ้นได้อีกด้วยซึ่งเป็นอาการที่มักเกิดในกลุ่มผู้สูงอายุ และจากงานวิจัยยังพบว่าการรับประทานอาหารเสริมแอสตาแซนทีน 6 mg. ต่อวัน มีส่วนช่วยเพิ่มความชุ่มชื่นแก่ดวงตาและลดอาการตาแห้ง (mild-to-moderate dry eye disease) ในคนวัยกลางคนและผู้สูงอายุได้อีกด้วยค่ะ
- บำรุงผิวพรรณ ลดริ้วรอยแห่งวัย
อีกหนึ่งคุณสมบัติที่โดดเด่นของแอสตาแซนทีนคือการทานเสริมเพื่อหวังผลในด้านความงามและการชะลอวัย โดยปกติเมื่อผิวหนังสัมผัสกับปัจจัยกระตุ้นต่างๆ เช่น ฝุ่นควัน สารเคมีและรังสี UV เป็นต้น จะทำให้เกิดอนุมูลอิสระจำนวนมากที่บริเวณผิวและทำลาย collagen และ elastin ในชั้นผิวส่งผลให้ผิวไม่แข็งแรงและขาดความยืดหยุ่นซึ่งเป็นสาเหตุของริ้วรอยและผิวแห้งกร้าน ด้วยฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูงมากๆของแอสตาแซนทีนที่จะช่วยกำจัดอนุมูลอิสระเหล่านี้ไม่ให้เข้ามาทำลายเซลล์ผิวของเราได้นั่นเองค่ะ นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่พบว่าการทานแอสตาแซนทีน 3-6 mg. ต่อวัน อย่างต่อเนื่องจะช่วยให้ collagen fiber ฟื้นคืนสภาพหลังถูกอนุมูลอิสระทำลาย ทำให้ผิวพรรณเรียบเนียนยิ่งขึ้น ช่วยลดการสูญเสียน้ำออกจากผิวทำให้ผิวอิ่มน้ำแลดูสุขภาพดี ช่วยลดเลือนริ้วรอยแห่งวัยและปกป้องผิวจากรังสี ไม่ให้ผิวไวต่อแสงแดด
- เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
พบว่าแอสตาแซนทีนมีส่วนช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและลดความอ่อนล้าของกล้ามเนื้อเนื่องจากการออกกำลังกาย การเสริมด้วยแอสตาแซนทีนจะช่วยให้ออกกำลังกายได้นานขึ้น โดยเพิ่มระดับความทนทานของร่างกาย จากการศึกษาในประเทศญี่ปุ่น โดยให้นักวิ่งระยะ 1,200 เมตร รับประทานแอสตาแซนทีนจากธรรมชาติ 6 mg. ต่อวัน ต่อเนื่องเป็นเวลา 4 สัปดาห์ พบว่าแอสตาแซนทีนช่วยลดอาการกล้ามเนื้อล้าจากการออกกำลังกายได้ โดยลดการสร้าง lactic acid ในกล้ามเนื้อและเพิ่มกระบวนการเมแทบอลิซึมไขมันแทนน้ำตาลระหว่างการออกกำลังกาย
แนะนำการทานแอสตาแซนทีน
แอสตาแซนทีน (astaxanthin) ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาจากประเทศสหรัฐอเมริกาให้เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และได้รับรางวัล GRAS (generally recognized as safe) จากประเทศญี่ปุ่นให้เป็นสารที่มีความปลอดภัยสูง สำหรับปริมาณที่แนะนำให้ทานต่อวันโดยองค์กร European Food Safety Authority (EFSA) แนะนำให้ทาน 8 mg. ต่อวัน โดยจากการวิจัยในมนุษย์ทดลองทานแอสตาแซนทีน 4-18 mg. ต่อวัน รับประทานต่อเนื่องเป็นเวลา 12 สัปดาห์ พบว่าไม่รายงานผลข้างเคียงจากการทานแอสตาแซนทีน แต่แอสตาแซนทีนเป็นสารที่ละลายได้ดีในไขมันจึงดูดซึมในร่างกายค่อนข้างยาก จึงแนะนำให้ทานแอสต้าแซนทีนหลังมื้ออาหารจะช่วยให้ร่างกายดูดซึมแอสตาแซนทีนและนำไปใช้ได้ดีขึ้น
แอสตาแซนทีน เป็นสารที่ร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้ เราจึงได้รับแอสตาแซนทีนจากการรับประทานอาหารเท่านั้น แต่ในธรรมชาติพบแอสตาแซนทีนในปริมาณที่น้อยมาก อาจต้องทานปลาแซลมอนมากถึง 250 g. จึงจะได้รับแอสตาแซนทีนเพียงแค่ 1.25 mg. การทานแอสตาแซนทีนในรูปแบบอาหารเสริมจึงช่วยให้เราได้รับแอสตาแซนทีนในปริมาณที่เหมาะสมและได้รับประโยชน์จากแอสตาแซนทีนไปแบบเต็มๆ สำหรับผู้อ่านที่มีความสนใจที่จะผลิตผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีส่วนประกอบของแอสตาแซนทีนจากธรรมชาติหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้เชี่ยวชาญ สามารถสอบถามได้ทาง Line: @MillionLab นะคะ สามารถปรึกษาได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมค่ะ
หากคุณสนใจผลิตผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากโรงงาน รับผลิตอาหารเสริม ที่ได้รับมาตรฐาน Codex GHPs และ HACCP จากบริษัท URS ประเทศอังกฤษ ได้รับรางวัลธุรกิจยอดเยี่ยมจาก ASEAN BUSINESS AWARD ประเทศสิงคโปร์ และคิดค้นสูตรโดยทีมเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์สายตรงกว่า 10 ปี
สามารถคลิกที่ เว็บไซต์นี้ ได้เลยค่ะ
References
- EFSA Panel on Nutrition, Novel Foods and Food Allergens (NDA), Turck, D., Castenmiller, J., de Henauw, S., Hirsch-Ernst, K. I., Kearney, J., Maciuk, A., Mangelsdorf, I., McArdle, H. J., Naska, A., Pelaez, C., Pentieva, K., Siani, A., Thies, F., Tsabouri, S., Vinceti, M., Cubadda, F., Engel, K. H., Frenzel, T., Heinonen, M., … Knutsen, H. K. (2020). Safety of astaxanthin for its use as a novel food in food supplements. EFSA journal. European Food Safety Authority, 18(2), e05993. https://doi.org/10.2903/j.efsa.2020.5993
- Ng, Q. X., De Deyn, M., Loke, W., Foo, N. X., Chan, H. W., & Yeo, W. S. (2021). Effects of Astaxanthin Supplementation on Skin Health: A Systematic Review of Clinical Studies. Journal of dietary supplements, 18(2), 169–182. https://doi.org/10.1080/19390211.2020.1739187
- Sawaki, K., Yoshigi, H., Aoki, K., Koikawa, N., Azumane, A., Kaneko, K., & Yamaguchi, M. (2004). Sports Performance Benefits from Taking Natural Astaxaxxthin * Characterized by Visual Acuity and Muscular Fatigue Improvement in Humans.
- Tian, L., Wen, Y., Li, S., Zhang, P., Wang, Y., Wang, J., Cao, K., Du, L., Wang, N., & Jie, Y. (2022). Benefits and Safety of Astaxanthin in the Treatment of Mild-To-Moderate Dry Eye Disease. Frontiers in nutrition, 8, 796951. https://doi.org/10.3389/fnut.2021.796951
- Yoshida, H., Yanai, H., Ito, K., Tomono, Y., Koikeda, T., Tsukahara, H., & Tada, N. (2010). Administration of natural astaxanthin increases serum HDL-cholesterol and adiponectin in subjects with mild hyperlipidemia. Atherosclerosis, 209(2), 520–523. https://doi.org/10.1016/j.atherosclerosis.2009.10.012
Leave A Comment