หลายๆคนน่าจะคุ้นเคยกับว่านหางจระเข้ในรูปแบบของเจลทาผิวหรือเป็นส่วนประกอบของเครื่องสำอางชนิดต่างๆ แต่รู้หรือไม่ว่าการรับประทานว่านหางจระเข้ก็ให้ประโยชน์แก่ร่างกายมากไม่แพ้กันเลย โดยว่านหางจระเข้เป็นพืชตระกูลลิเลี่ยม ซึ่งมีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ที่ชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ในอดีตมักถูกปลูกไว้เป็นไม้ประดับตามบ้านเรือนและนำวุ้นหรือเจลใสจากใบมาใช้เป็นสมุนไพรรักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก นอกจากนี้ว่านหางจระเข้ยังมีคุณสมบัติเป็นยาและได้รับการยกย่องว่าเป็น “พืชอมตะ” อีกด้วย

5 ประโยชน์ของการทานว่านหางจระเข้ที่คุณอาจยังไม่รู้

  1. ช่วยรักษาแผลและลดเลือนริ้วรอย

ว่านหางจระเข้มีส่วนช่วยรักษาบาดแผลต่างๆ โดยจะกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนใต้ผิวหนังและทำให้เกิดการสร้างเซลล์ผิวใหม่ ส่งผลให้แผลต่างๆหายเร็วขึ้น รวมทั้งช่วยลดเลือนริ้วรอยและร่องลึกแห่งวัย นอกจากนี้ว่านหางจระเข้ยังอุดมไปด้วย anti-oxidant ที่จะช่วยชะลอความแก่ของเซลล์ผิว ทำให้ผิวหนังและเซลล์ต่างๆในร่างกายเกิดความเสียหายจากอนุมูลอิสระลดลง ว่านหางจระเข้จึงมีส่วนช่วยต้านการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆได้ อย่างเช่น โรคมะเร็ง เป็นต้น

  1. เป็นตัวช่วยของคนเป็นโรคกระเพาะ

ว่านหางจระเข้เป็นสมุนไพรที่ช่วยสมานแผล รวมทั้งสมานแผลในกระเพาะอาหารและทางเดินอาหารด้วย จากงานวิจัยมีการจำลองแผลในกระเพาะอาหารด้วยการใช้กรดเกลือ 0.6 โมลาร์พบว่าสารสกัดจากง่านหางจระเข้ที่ความเข้มข้นต่ำๆสามารถช่วยเคลือบผิวกระเพาะอาหารและลดการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารได้ นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของ H. pylori ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคกระเพาะอาหาร รวมทั้งยังช่วยรักษาหรือสมานแผลที่มีอยู่เดิมในกระเพาะอาหารให้หายเร็วขึ้นได้อีกด้วย

  1. แหล่งวิตามินที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

ว่านหางจระเข้อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่สำคัญต่อร่างกาย อย่างเช่น vitamin A vitamin C และ vitamin E ที่มีสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอความแก่และความเสี่ยมของเซลล์ในร่างกาย อีกทั้งยังช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง มี vitamin B1 มีฤทธิ์ในการต้านการอักเสบของปลายประสาท ช่วยลดอาการเหน็บชาได้ดี โดยเฉพาะ vitamin C ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างโปรตีนคอลลาเจน (collagen) และอีลาสติน (elastin) ช่วยในการรักษาบาดแผล ทำให้แผลไม่เป็นรอยแผลเป็น รวมทั้งช่วยบำรุงผิวพรรณให้กระชับและเนียนนุ่มอีกด้วย

  1. ช่วยให้ขับถ่ายได้ดีขึ้น

เนื่องจากว่านหางจระเข้มีฤทธิ์เป็นยาถ่ายแบบอ่อนๆ ช่วยช่วยทำให้อุจจาระอ่อนตัวและขับถ่ายได้ง่ายขึ้น จึงเหมาะสำหรับผู้ที่อาการท้องผูก ขับถ่ายลำบาก อีกทั้งยังช่วยลดปริมาณของเชื้อแบคทีเรียในลำไส้ได้อีกด้วย นอกจากนี้ว่างหางจระเข้มีเอนไซม์ amylase ที่มีหน้าที่ในการย่อยแป้ง และเอนไซม์ lipase ซึ่งเป็นเอนไซม์ย่อยไขมัน ซึ่งเอนไซม์ทั้งสองที่พบในว่านหางจระเข้มีประสิทธิภาพดีกว่าเอนไซม์จากสัตว์ จึงช่วยบรรเทาอาการอาหารไม่ย่อย ท้องเฟ้อ ลมแน่นท้องได้ดีทีเดียว

  1. ลดอาการปวดข้อ

อีกหนึ่งในสรรพคุณที่น่าสนใจของว่านหางจระเข้ คือ ฤทธิ์ในการต้านการอักเสบทั้งในรูปแบบทาและรับประทาน ว่านหางจระเข้จึงถูกนำมาใช้ในการรักษาโรคข้ออักเสบด้วย ซึ่งว่านหางจระเข้มีฤทธิ์ในการต้านการอักเสบโดยการไปยับยั้ง COX-2 ซึ่งเหมือนกลไกต้านการอักเสบของ NSAIDs  ว่านหางจระเข้จึงเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ช่วยต้านการอักเสบและบรรเทาอาการปวดข้อของผู้ป่วยโรคข้อเสื่อม และไม่ก่อให้การระคายเคืองทางเดินอาหารเหมือน NSAIDs

ด้วยสรรพคุณที่มากมายและให้ประโยชน์หลายด้าน ว่านหางจระเข้จึงได้ชื่อว่าเป็น สมุนไพรสารพัดประโยชน์ สำหรับผู้อ่านที่มีความสนใจที่จะผลิตผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีสารสกัดจากว่านหางจระเข้ หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้เชี่ยวชาญ สามารถสอบถามได้ทาง Line: @MillionLab นะคะ สามารถปรึกษาได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมค่ะ

หากคุณสนใจผลิตผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากโรงงาน รับผลิตอาหารเสริม ที่ได้รับมาตรฐาน GMP CODEX จากบริษัท URS ประเทศอังกฤษ ได้รับรางวัลธุรกิจยอดเยี่ยมจาก ASEAN BUSINESS AWARD ประเทศสิงคโปร์ และคิดค้นสูตรโดยทีมเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์สายตรงกว่า 10 ปี

สามารถคลิกที่ เว็บไซต์นี้  ได้เลยค่ะ

References

  1. Cellini L, Di Bartolomeo S, Di Campli E, et al. In vitro activity of Aloe vera inner gel against Helicobacter pylori strains. Lett Appl Microbiol 2014;59:43-8.
  2. Cowan D. (2010). Oral Aloe vera as a treatment for osteoarthritis: a summary. British journal of community nursing15(6), 280–282. https://doi.org/10.12968/bjcn.2010.15.6.48369
  3. Kostálová D, Bezáková L, Oblozinský M, et al. Isolation and characterization of active compounds from Aloe vera with a possible role in skin protection. Ceska Slov Farm 2004;53:248-51.
  4. Sánchez, M., González-Burgos, E., Iglesias, I., & Gómez-Serranillos, M. P. (2020). Pharmacological Update Properties of Aloe Veraand its Major Active Constituents. Molecules (Basel, Switzerland)25(6), 1324. https://doi.org/10.3390/molecules25061324
  5. Yusuf S, Agunu A, Diana M. The effect of Aloe vera A. Berger (Liliaceae) on gastric acid secretion

and acute gastric mucosal injury in rats. J Ethnopharmacol 2004;93:33-7.