ต้นกำเนิดของแครนเบอร์รี่ (Cranberry)

แครนเบอร์รี่ ผลไม้ในตระกูลเบอร์รี่ที่มีต้นกำเนิดมาจากอเมริกาเหนือ ได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศแถบอเมริกา ยุโรปและแคนาดาถูกนำมารับประทาน แครนเบอร์รี่เป็นหนึ่งในผลไม้ที่ถูกจัดว่าเป็น “super food” เนื่องจากพบว่าแครนเบอร์รี่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระอีกหลายชนิด ได้แก่ สารในกลุ่มพอลิฟีนอล อย่างเช่น แอนโธไซยานิน (anthocyanins) ฟลาโวนอยด์ (flavonoid) กรดฟีนอลิก (phenolic acids) นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งวิตามินซีจากธรรมชาติ โดยให้วิตามินซีมากถึง 30-47.5 มิลลิกรัมต่อแครนเบอร์รี่ 100 กรัม อีกทั้งยังให้วิตามินอีและวิตามินเคในปริมาณที่สูงอีกด้วย

5 ประโยชน์ของสารสกัดจากแครนเบอร์รี่

  1. แหล่งวิตามินซีจากธรรมชาติ

แครนเบอร์รี่อุดมไปด้วยวิตามินซีที่จะช่วยในการกระตุ้นกระบวนการสร้างคอลลาเจนใต้ชั้นผิวหนังส่งผลในการช่วยบำรุงผิวพรรณ ทำให้ผิวเนียนนุ่มและขาวกระจ่างใสอย่างเป็นธรรมชาติ อีกทั้งวิตามินซียังช่วยเสริมการทำงานของภูมิคุ้มกัน โดยช่วยเพิ่มการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดซึ่งมีหน้าที่ในการกำจัดสิ่งแปลกปลอมและเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย นอกจากนี้แครนเบอร์รี่ยังให้วิตามินอีที่จะช่วยเสริมฤทธิ์วิตามินซีในการต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ต่างๆในร่างกายและยังช่วยซ่อมแซมเซลล์ที่เสียหายจากการทำลายของ free radicals

  1. ช่วยลดป้องกันโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ

โรคทางเดินปัสสาวะอักเสบถือว่าเป็นโรคที่ผู้หญิงหลายคนคุ้นเคย โดยเฉพาะสาวออฟฟิศที่นั่งทำงานนานๆหรือสาวๆที่มีไลฟ์สไตล์ชอบกลั้นปัสสาวะ สำหรับสารสกัดจากแครนเบอร์รี่ที่เป็นเคล็ดลับการดูแลสุขภาพของผู้หญิงจากภายใน โดยพบว่าสารประกอบหลายชนิดในแครนเบอร์รี่ เช่น โปรแอนโธไซยานินชนิด A (proanthocyanin A) และสารประกอบโพลิฟีนอลอื่นๆ จะช่วยป้องกันไม่ให้แบคทีเรียไปเกาะติดกับเซลล์เยื่อบุผิวของทางเดินปัสสาวะจึงทำให้เชื้อเหล่านั้นออกฤทธิ์ไม่ได้และยังช่วยลดปริมาณของแบคทีเรียในปัสสาวะจึงช่วยลดโอกาสในการติดเชื้อในท่อปัสสาวะได้ดี

  1. อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ

อย่างที่ทุกคนทราบกันดีว่า อนุมูลอิสระหรือ free radicals เป็นสิ่งที่อันตรายต่อเซลล์ต่างๆในร่างกาย ทำให้เซลล์ในร่างกายเสื่อมสภาพและยังเป็นต้นเหตุของโรคเรื้อรังอย่างโรคหัวใจ โรคมะเร็งและโรคเบาหวานอีกด้วย สำหรับแครนเบอร์รี่ที่นับว่าเป็นหนึ่งในผลไม้ที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณที่สูงที่สุดเป็น 5 อันดับแรกเมื่อเทียบกับผลไม้จากทั่วโลก โดยประกอบไปด้วยสารในกลุ่มฟีนอล (phenolic compounds) แอนโธไซยานิน (anthocyanin) กรดควินิค (quinic acid) และคาเทซิน (catechins) ซึ่งสารต้านอนุมูลอิสระเหล่านี้จะช่วยปกป้องเซลล์จากการทำลายของ free radicals นอกจากนี้สารต้านอนุมูลอิสระหลากหลายชนิดในแครนเบอร์รี่ยังช่วยเสริมฤทธิ์กันเองทำให้สารสกัดจากผลแครนเบอร์รี่กลายเป็นแหล่งสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูงและมีงานวิจัยหลายฉบับที่พบว่าสารพฤษเคมีเหล่านี้มีส่วนช่วยให้ร่างกายดูดซึมและนำวิตามินและแร่ธาตุไปใช้ได้มากกว่าการทานวิตามินเดี่ยวๆเพียงอย่างเดียว

  1. ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ

แอนโธไซยานินในแครนเบอร์รี่จะช่วยลดปริมาณ LDL หรือไขมันที่ไม่ดีและช่วยยับยั้งปฏิกิริยาออกซิไดซ์ของ LDL ซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้เกิดไขมันชนิดไม่ดีที่เสียสภาพซึ่งไขมันที่เสียสภาพเหล่านี้จะไปเกาะที่บริเวณผนังหลอดเลือดและสะสมเป็นไขมันหนาส่งผลให้เกิดภาวะหลอดเลือดหัวใจอุดตันในเวลาต่อมา อีกทั้งยังช่วยเพิ่มปริมาณ HDL หรือไขมันที่ดี สารสกัดจากแครนเบอร์รี่จึงช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจได้ดีทีเดียว

  1. ช่วยรักษาแผลและลดการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร

แครนเบอร์รี่อุดมไปด้วย polyphenol ที่มีส่วนช่วยลดการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร โดยจะช่วยทำลายคาร์โบไฮเดรตและโปรตีนที่บริเวณผิวของเซลล์จุลินทรีย์ก่อโรคส่งผลให้เซลล์เหล่านี้ยึดเกาะกับบริเวณเนื้อเยื่อบุลำไส้เล็กได้น้อยลงและลดการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ก่อโรคในทางเดินอาหาร นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่พบว่าสารสกัดจากแครนเบอร์รี่ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย H. Pylori ซึ่งเป็นสาเหตุของแผลในกระเพาะอาหารและยังช่วยลดการอักเสบของทางเดินอาหารได้อีกด้วย

สารสกัดจากแครนเบอร์รี่เป็นสารสกัดจากธรรมชาติที่เต็มไปด้วยประโยชน์หลายด้าน โดยเฉพาะการดูแลสุขภาพและความงามของผู้หญิง สำหรับผู้อ่านที่มีความสนใจที่จะผลิตผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีสารสกัดจากแครนเบอร์รี่เป็นส่วนประกอบหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้เชี่ยวชาญ สามารถสอบถามได้ทาง Line: @MillionLab นะคะ สามารถปรึกษาได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมค่ะ

หากคุณสนใจผลิตผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากโรงงาน รับผลิตอาหารเสริม ที่ได้รับมาตรฐาน Codex GHPs และ HACCP  จากบริษัท URS ประเทศอังกฤษ ได้รับรางวัลธุรกิจยอดเยี่ยมจาก ASEAN BUSINESS AWARD ประเทศสิงคโปร์ และคิดค้นสูตรโดยทีมเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์สายตรงกว่า 10 ปี

สามารถคลิกที่ เว็บไซต์นี้  ได้เลยค่ะ

 References

  1. Blumberg J.B., Basu A., Krueger C.G., Lila M.A., Neto C.C., Novotny N.A., Reed J.D., Rodriguez-Mateo A., Toner C.D. Impact of cranberry on gut microbiota and cardiometabolic health: Proceeding of the cranberry health research conference Adv. Nutr. 2016;7:759–770. doi: 10.3945/an.116.012583.
  2. DeAnn J Liska, Hua J Kern, Kevin C Maki, Cranberries and Urinary Tract Infections: How Can the Same Evidence Lead to Conflicting Advice?, Advances in Nutrition, Volume 7, Issue 3, May 2016, Pages 498–506, https://doi.org/3945/an.115.011197
  3. Nemzer, B. V., Al-Taher, F., Yashin, A., Revelsky, I., & Yashin, Y. (2022). Cranberry: Chemical Composition, Antioxidant Activity and Impact on Human Health: Overview. Molecules (Basel, Switzerland), 27(5), https://doi.org/10.3390/molecules27051503
  4. Zhao, S., Liu, H., & Gu, L. (2020). American cranberries and health benefits – an evolving story of 25 Journal of the science of food and agriculture, 100(14), 5111–5116. https://doi.org/10.1002/jsfa.8882