สวัสดีค่ะ วันนี้ MillionLab จะมาพูดถึงผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (Dietary Supplement) ที่หลายๆคนเรียกกันจนติดปากว่า อาหารเสริม ว่าจริงๆแล้วคืออะไร เราจำเป็นต้องรับประทานหรือไม่ และสามารถสะสมในร่างกายได้จริงหรือ? (บทความโดย Million Lab โรงงานรับผลิตผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร)
คำว่าอาหารเสริม มีความหมาย ว่าคือผลิตภัณฑ์ที่ทานเพิ่มเติมนอกเหนือจากอาหารมือหลัก เป็นรูปแบบอาหารที่สามารถหาได้ทั่วไปตามธรรมชาติ โดยมีการแบ่งช่วงอายุที่ควรทานไว้ เช่น ทารกอายุมากกว่า 6 เดือน มีอาหารมือหลักคือนม ส่วนอาหารเสริมที่ควรทานในบางครั้งนอกเหนือจากนมแม่ เช่น ฟักทองต้มสุก มะละกอสุก ข้าวบดละเอียด เป็นต้น เพื่อป้องกันการขาดสารอาหาร ส่วนคำว่าผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร จะหมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ใช้รับประทานนอกเหนือจากอาหารตามปกติ ซึ่งมีสารอาหารหรือสารอื่น ๆ เป็นองค์ประกอบ อยู่ในรูปแบบเม็ด แคปซูล ผง เกล็ด ของเหลว หรือลักษณะอื่น ซึ่งไม่ใช่รูปแบบอาหารตามปกติ (Conventional Foods) ใช้สำหรับผู้บริโภคที่มีสุขภาพปกติ (ไม่ใช่ผู้ป่วย) โดยคาดหวังประโยชน์ทางด้านส่งเสริมสุขภาพ เช่น วิตามิน หรือสารสกัดจากพืช แต่ปัจจุบันมักมีการใช้คำว่า “อาหารเสริม” แทนผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอยู่บ่อยครั้ง แม้จะมีความหมายไม่เหมือนกัน
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่วางจำหน่ายในประเทศไทยทุกชนิด จะต้องขึ้นทะเบียนกับองค์การอาหารและยา หรือ อย. ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ได้กำหนดคุณภาพหรือมาตรฐานของสินค้า รวมทั้งข้อมูลที่แสดงบนฉลากต้องได้มาตรฐานที่ครบถ้วน นอกจากนี้ส่วนประกอบแต่ละรายการจะต้องมีไม่เกินปริมาณที่ร่างกายต้องการต่อวัน และไม่เกิดพิษต่อร่างกาย เช่น ไม่ทำให้ตับอักเสบหรือไตวาย ซึ่งเป็นปริมาณที่คำนวณจากข้อมูลประชากรคนไทยโดยเฉพาะ ผู้ผลิตหรือนำเข้าผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจึงจำเป็นต้องจดแจ้งสินค้าและขึ้นทะเบียนกับ อย. เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการรับรองว่าสินค้านั้นๆ มีคุณภาพและมีความปลอดภัยตามที่กฏหมายกำหนด
โดยหากแบ่งประเภทของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารตามประเภทของสารที่อย. อนุญาตให้ใช้ สามารถแบ่งออกได้เป็น 6 ประเภท ดังนี้
- วิตามิน
- กรดอะมิโน
- กรดไขมัน
- แร่ธาตุ
- ผลิตภัณฑ์จากพืช รวมถึงสมุนไพร
- ผลิตภัณฑ์จากสัตว์
เราจำเป็นต้องทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหรือไม่?
ตามหลักโภชนาการอาหาร ผู้ที่มีสุขภาพดีที่สามารถรับประทานอาหารครบ 5 หมู่ในทุกๆมื้อ และมีเมนูอาหารที่หลากหลาย ไม่ซ้ำกัน รับประทานผักผลไม้สดที่หมุนเวียนตามฤดูและให้ปริมาณใยอาหารต่อวัน 25-30 กรัม จะไม่จำเป็นต้องรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอื่นเพิ่มเติม แต่ในปัจจุบันการรับประทานอาหารตามปกติของคนส่วนใหญ่ ไม่ได้รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ มีการทานอาหารประเภท Fast food อาหารกล่อง อาหารตามสั่ง มากขึ้น ซึ่งทำให้ได้รับวิตามินและแร่ธาตุไม่เพียงพอ
จากข้อมูลผลสำรวจของกรมอนามัย ปี พ.ศ. 2546 พบว่าผู้ใหญ่อายุ 15-59 ปีได้รับวิตามินซีโดยเฉลี่ยเพียงร้อยละ 46.6 จากปริมาณที่ควรได้รับต่อวัน โดยประชากรภาคกลางได้รับเพียงร้อยละ 40.7 เท่านั้น นอกจากนี้วิถีชีวิตในเมืองและค่านิยมในปัจจุบันต่างส่งผลต่อระดับวิตามินในร่างกายได้ เช่น การนั่งทำงานในสำนักงานและการทาครีมกันแดดส่งผลให้ได้รับ UVB จากแสงอาทิตย์ลดลง ส่งผลให้การกระตุ้นการสร้างวิตามินดีในร่างกายลดลงและไม่เพียงพอ ข้อมูลจากการสุ่มสำรวจสุขภาพครั้งที่ 4 ของประเทศไทยในปี พ.ศ. 2551-2552 พบปัญหาขาดวิตามินดีในผู้หญิงถึง 1 ใน 4 คน จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมการรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญมากขึ้น เพื่อจุดประสงค์ให้ร่างกายได้รับวิตามินและแร่ธาตุได้อย่างเพียงพอ ป้องกันการเกิดโรคจากภาวะขาดวิตามินหรือแร่ธาตุ และการส่งเสริมร่างกายให้ทำงานเป็นปกติ
นอกจากนี้ในบางภาวะ ร่างกายจะต้องการวิตามินแร่ธาตุมากกว่าปกติ เช่น ขณะพักฟื้นหลังผ่าตัดจะต้องการวิตามินซีวันละ 500 มิลลิกรัม ซึ่งหากบริโภคจากอาหารจะเกิดผลเสียมากกว่า ยกตัวอย่างเช่น จะต้องรับประทานส้มถึง 1 กิโลกรัม จึงจะให้วิตามินซี 500 มิลลิกรัม แต่จะต้องได้รับน้ำตาลจากส้มในปริมาณมากเช่นกัน รวมถึงร่างกายในช่วงพักฟื้นอาจไม่สามารถรับประทานอาหารปริมาณมากได้ การรับประทานวิตามินซีจากผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจึงดูจะเหมาะสมและสะดวกกว่าในข้อจำกัดเช่นนี้
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเป็นพิษต่อตับ ไต หรือจะสะสมที่ส่วนอื่นในร่างกายหรือไม่?
วิตามินและแร่ธาตุทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มที่ละลายในน้ำ หรือในไขมัน ต่างสะสมในร่างกายได้ เช่น เมื่อรับประทานวิตามินซี ภายหลังการดูดซึมจะถูกส่งไปสะสมที่ต่อมใต้สมอง สมอง เลนส์ตา ต่อมหมวกไต เป็นต้น หรือการรับประทานแร่ธาตุแคลเซียมก็จะสะสมเป็นส่วนใหญ่ที่กระดูกและฟัน แต่ทุกๆวิตามินและแร่ธาตุจะมีการหมุนเวียนระหว่างปริมาณที่ได้รับในแต่ละวัน ปริมาณที่สะสมในอวัยวะ และปริมาณที่ร่างกายนำไปใช้ โดยในภาวะที่สมดุลหากรับประทานไม่เกินปริมาณที่ร่างกายใช้ก็จะไม่เกิดการสะสมเพิ่มจนเกิดพิษและโดยทั่วไปการรับประทานวิตามินและแร่ธาตุในขนาดปกติจะไม่เกิดพิษต่อตับหรือไต แต่จะเกิดพิษเมื่อได้รับในปริมาณสูงหรือมีการสะสมต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ทำให้ตับหรือไตต้องทำงานหนักในการกำจัดส่วนเกินเหล่านั้นออก
ในผู้ที่กังวลว่าจะรับประทานสินค้าชนิดใดจึงจะปลอดภัย จะต้องพิจารณาจากคุณภาพและปริมาณของส่วนประกอบว่าจะต้องไม่เกินที่ร่างกายต้องการ หรือเลือกรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ได้รับการรับรองโดยองค์การอาหารและยาแห่งประเทศไทยที่จดแจ้งอย่างถูกต้อง ไม่มีการสวมเลขอย. หรือการปลอมแปลงฉลาก หรือมีการใส่สารอื่นนอกเหนือไปจากที่ระบุในฉลาก และเลือกสินค้าที่ผลิตจากโรงงานที่ได้รับการรับรองมาตรฐานสากล GMP อย่างเช่นโรงงาน MillionLab ของเราที่ได้รับรองมาตรฐานจากประเทศอังกฤษ ก็สามารถมั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์นั้นมีความปลอดภัย
คำแนะนำในการรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสำหรับผู้บริโภคควรศึกษาส่วนประกอบและคำเตือนในฉลากทุกครั้งก่อนรับประทาน และรับประทานในปริมาณที่ระบุบนฉลากสินค้านอกจากนี้ หากมีโรคประจำตัว หรือมียาประจำอื่นๆ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทุกครั้ง
จะเห็นว่าอะไรที่มากเกินไป มักจะส่งผลเสียมากกว่าผลดี อะไรที่น้อยเกินไป ก็ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ดัวนั้น MillionLab หวังว่าทุกคนจะสามารถรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอย่างระมัดระวัง และไม่กังวลในเรื่องผลข้างเคียงของการรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารค่ะ
บริษัท พีเอชอาร์ มิลเลี่ยน แลบ จำกัด ได้รับมาตรฐาน GMP CODEX จากบริษัท URS ประเทศอังกฤษ ได้รับรางวัลธุรกิจยอดเยี่ยมจาก ASEAN BUSINESS AWARD ประเทศสิงคโปร์ และคิดค้นสูตรโดยทีมเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์สายตรงกว่า 10 ปี
Leave A Comment