กระบวนการ เผาผลาญถึงเป็นหัวใจสำคัญของการลดน้ำหนัก เคยสงสัยไหมว่าทำไมออกกำลังกายเท่าไหร่น้ำหนักก็ไม่ลง แถมยังลดไขมันส่วนเกินไม่ได้สักที แต่พอเผลอทานบุฟเฟ่ต์นิดเดียวน้ำหนักกลับขึ้นอย่างรวดเร็ว อาจจะเป็นเพราะระบบเผาผลาญของเราเองที่ไม่สามารถเปลี่ยนอาหารที่เราทานไปเป็นพลังงานไว้ใช้ในแต่ละวัน แต่กลับนำไปสะสมเป็นไขมันตามส่วนต่างๆของร่างกายแทน นั่นก็เป็นเพราะระบบเผาผลาญทำงานได้ไม่สมดุลกับการบริโภคของเรานั่นเอง หรือจริง ๆ แค่การออกกำลังกายและการควบคุมอาหารอาจจะยังพอ การทานผลิตภัณฑ์อาหารเสริมก็เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่สำคัญในการกระตุ้นกระบวนการ เผาผลาญไขมัน ในร่างกาย วันนี้ Million Lab จะพาทุกคนไปรู้จักกับ 5 สารสกัดที่ได้รับความนิยมและมีงานวิจัยที่เป็นที่ยอมรับว่ามีประสิทธิภาพในการกระตุ้นกระบวนการ เผาผลาญไขมัน ได้

5 สารสกัดจากธรรมชาติที่ช่วย เผาผลาญไขมัน

  1. สารสกัดจากเมล็ดกาแฟ (Green Coffee Bean Extract): สารสกัดจากเมล็ดกาแฟสีเขียวหรือเมล็ดกาแฟสดที่ยังไม่ผ่านกระบวนการคั่วนั่นเอง โดยจะให้สารสำคัญคือ chlorogenic acid ซึ่งพบว่าสารชนิดนี้มีส่วนช่วยลดการสะสมไขมันในร่างกาย และเพิ่มกระบวนการ เผาผลาญไขมัน อีกทั้งยังช่วยลดการดูดซึมแป้งและกระตุ้นให้ร่างกายดึงอาหารประเภทน้ำตาลหรือแป้งไปใช้เป็นพลังงานมากขึ้นจึงส่งผลทั้งช่วยสลายไขมันเก่าและลดการสะสมไขมันใหม่
  2. สารสกัดจากดอกคำฝอย (Safflower Extract): สารสกัดจากดอกคำฝอยให้กรดไลโนเลอิก (Linoleic acid) ซึ่งเป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวในปริมาณมากกว่าพืชชนิดใด ๆ มีสรรพคุณในการลดไขมันในเส้นเลือด และคอเลสเทอรอลจึงช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้ นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มกระบวนการ เผาผลาญไขมัน โดยกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ไลเปส (lipase) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ทำหน้าที่ย่อยไขมันส่งผลช่วยลดการสะสมไขมันตามเนื้อเยื่อต่างๆในร่างกาย
  3. สารสกัดจากผลส้มแขก (Garcinia Cambogia Extract): สารสกัดจากผลส้มแขกช่วยลดความอยากอาหารและยับยั้งกระบวนการสะสมไขมันในร่างกาย ซึ่งเป็นผลมาจาก hydroxycitric acid ซึ่งเป็นสารสำคัญในผลส้มแขกที่จะช่วยยับยั้งการย่อยอาหารกลุ่มแป้งและลดการเปลี่ยนแป้งส่วนเกินไปเป็นไขมันสะสม อุดมไปด้วยใยอาหารที่จะช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบขับถ่าย ทำให้อิ่มเร็วและอิ่มนาน ช่วยลดการทานอาหารจุบจิบระหว่างวันได้
  4. สารสกัดจากชาเขียว (Green Tea Extract): สารสกัดจากชาเขียวมีส่วนช่วยกระตุ้นกระบวนการ เผาผลาญไขมัน ในร่างกาย โดยเพิ่มการเผาผลาญพลังงานและยับยั้งเอนไซม์ชื่อว่า catechol-O-methyltransferase ที่ช่วยเพิ่มสารสื่อประสาท norepinephrine ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในกระบวนการเผาผลาญไขมันจึงมีส่วนช่วยให้กระบวนเผาผลาญพลังงานของร่างกายได้ดียิ่งขึ้น
  5. สารสกัดจากพริก (Capsaicin): สารสกัดจากพริกช่วยกระตุ้นกระบวนการ เผาผลาญไขมัน ในร่างกาย โดยเพิ่มการเผาผลาญพลังงาน และกระตุ้นการย่อยไขมันจึงช่วยลดการสะสมของไขมันในร่างกายได้ อีกทั้งสารสกัดจากพริกยังช่วยความอยากอาหารได้อีกด้วย ในปัจจุบันสารสกัดจากพริกจึงเป็นสารสกัดที่ได้รับความนิยมอย่างมากในวงการลดน้ำหนัก

สำหรับผู้อ่านที่มีความสนใจที่จะผลิตผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสำหรับช่วยควบคุมน้ำหนักและเพิ่มการ เผาผลาญไขมันหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้เชี่ยวชาญ สามารถสอบถามได้ทาง Line: @MillionLab นะคะ สามารถปรึกษาได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมค่ะ

หากคุณสนใจผลิตผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากโรงงาน รับผลิตอาหารเสริม ที่ได้รับมาตรฐาน Codex GHPs และ HACCP  จากบริษัท URS ประเทศอังกฤษ ได้รับรางวัลธุรกิจยอดเยี่ยมจาก ASEAN BUSINESS AWARD ประเทศสิงคโปร์ และคิดค้นสูตรโดยทีมเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์สายตรงกว่า 10 ปี

หากสนใจสามารถคลิกที่ เว็บไซต์นี้ ได้เลยค่ะ

References

  1. Park KS. Raspberry ketone increases both lipolysis and fatty acid oxidation in 3T3-L1 adipocytes. Planta Med. 2010 Oct;76(15):1654-8.
  2. Ohia SE, Opere CA, LeDay AM, Bagchi M, Bagchi D, Stohs SJ. Safety and mechanism of appetite suppression by a novel hydroxycitric acid extract (HCA-SX). Mol Cell Biochem. 2002 Sep;238(1-2):89-103.
  3. Dulloo AG, Duret C, Rohrer D, Girardier L, Mensi N, Fathi M, Chantre P, Vandermander J. Efficacy of a green tea extract rich in catechin polyphenols and caffeine in increasing 24-h energy expenditure and fat oxidation in humans. Am J Clin Nutr. 1999 Dec;70(6):1040-5.
  4. Belza A, Jessen AB. Bioactive food stimulants of sympathetic activity: effect on 24-h energy expenditure and fat oxidation. Eur J Clin Nutr. 2005 Aug;59(8):733-41.
  5. Chen CY, Stacewicz-Sapuntzakis M, Duncan C, Sharifi R, Ghosh L, van Breemen R. Oxidative DNA damage in prostate cancer patients consuming tomato sauce-based entrees as a whole-food intervention. J Natl Cancer Inst. 2001 Oct 17;93(20):1872-9.